ประกาศประชาสัมพันธ์ภาพกิจกรรม

โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีทางพระพุทธศาสนาเนื่องในวันเข้าพรรษา (ถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบนํ้าฝน) ประจำปี 2566

วันที่ 31 กรกฎาคม 2566

องค์การบริหารส่วนตำาบลสวนหม่อนได้จัดโครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีทางพระพุทธศาสนาเนื่องในวันเข้าพรรษา (ถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบนํ้าฝน) ประจำปี 2566

การถวายเทียนพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อมาแต่โบราณ ในอดีตนั้น ความ เจริญทางเทคโนโลยีนั้นยังไม่มีให้เห็นเหมือนดังเช่นปัจจุบัน การดำเนินชีวิตต้องอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงสว่างก็ต้องอาศัยแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ การหุงหาอาหารก็อาศัยเศษไม้ใบหญ้ามาเป็น เชื้อเพลิงประกอบการปรุงอาหารรับประทาน ในยามค่ำคืนก็ก่อหรือสุ่มไฟให้เกิดแสงสว่าง เพื่อป้องกันสัตว์ร้าย เพื่อใช้ควันไล่แมลงต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความอบอุ่นแก่คนและสัตว์ และนอกจากนี้ก็เพื่อที่จะได้ดำเนินกิจกรรม ต่าง ๆ ได้สะดวก

ในอดีตยามค่ำคืนที่พระภิกษุสามเณรจะสวดมนต์หรือท่องตำรับตำรา ก็ต้องอาศัยแสงสว่างจากคบ ตะเกียง และเทียนไข ซึ่งสิ่งดังกล่าว ค่อนข้างที่จะหาค่อนยากและลำบาก ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันไร่เรียขี้ผึ้ง จากผู้มีจิตศรัทธามาหล่อเป็นเทียนและนำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษาที่วัดนั้น ๆ และก็มีความเชื่อว่าการถวาย เทียนพรรษาเป็นการให้แสงสว่าง ซึ่งจะมีอานิสงค์ให้แก่ผู้ถวายมีภูมิปัญญาที่เฉลียวฉลาด คิดสิ่งใดมีความ แตกฉาน ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้น ๆ ซึ่งมีความสอดคล้องกับที่ว่า “แสงเทียนส่องทาง แสงธรรมส่องปัญญา”

สำหรับผ้าอาบน้ำฝนนั้น แต่เดิมได้มีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์มีผ้าได้เพียง ๓ ผืน คือไตรจีวร ได้แก่สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) และสังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนนอกใช้ในเวลาอากาศหนาว) ในช่วงประมาณเดือน กรกฎาคมถึงตุลาคมของทุก ๆ ปี จะเป็นฤดูฝน ซึ่งจะทำให้พระสงฆ์ไม่ได้รับความสะดวกในการ อาบน้ำ เพราะมีผ้าเพียงผืนเดียว ดังนั้น นางวิสาขาจึงกราบทูลต่อพระพุทธเจ้าเพื่อขอพร ๘ ประการ เพื่อขอถวาย สิ่งของต่าง ๆ แก่พระภิกษุ และพร ๘ ประการนี้ก็มีผ้าอาบน้ำฝนรวมอยู่ด้วย ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นเหตุ อันควร จึงทรงอนุญาตตามที่ขอพร ด้วยเหตุนี้การถวายผ้าอาบน้ำฝนในวันเข้าพรรษาจึงปฏิบัติสืบต่อกันมา ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนส่วนใหญ่ของประเทศไทยเคารพนับถือ ซึ่งหลักธรรมคำ สอนของพระพุทธศาสนา สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติให้มีความสุขและคลายความทุกข์ได้อย่างมีเหตุและผล ตลอดจนสามารถพิสูจน์เชิงเหตุและผลได้อย่างแท้จริง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *