ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน  ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพคนและสังคม

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการแข่งขัน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี

แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย 24 แนวทางการพัฒนา

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพคนและสังคม ประกอบด้วย 5 แนวทางการพัฒนา ดังนี้

1.1 พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในทุกระดับ ทั้งในและนอกระบบ ครอบคลุมทุกช่วงวัย ให้เรียนรู้ตลอดชีวิต

1.2 เสริมสร้างค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงามแก่เด็กและเยาวชน

1.3 พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการด้านสาธารณสุข การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถนะทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้ประชาชนมีสุขภาวะที่สมบูรณ์

1.4 พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การแพทย์พื้นบ้าน และสมุนไพร

1.5 พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกระดับ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา 4 แนวทาง ดังนี้

2.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง และระบบการให้บริการขนส่งมวลชน

2.2 พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในท้องถิ่น

2.3 พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนให้หมู่บ้าน/ชุมชนปลอดภัย ให้เมืองและชุมชนปลอดภัย โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม

2.4 ส่งเสริม และสนับสนุนให้หมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด และปลอดอบายมุข

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการแข่งขัน ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา 4 แนวทาง ดังนี้

3.1 พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้าการเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิต การออกแบบ การบรรจุภัณฑ์ และการตลาด

3.2 ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และน้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการประกอบอาชีพ

3.3 พัฒนาและส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็งและแข่งขันได้

3.4 พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา 5 แนวทาง ดังนี้

4.1 เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

4.2 อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเพิ่มพื้นที่ป่า และป่าต้นน้ำลำธารให้เกิดความอุคมสมบูรณ์

4.3 พัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ

4.4 การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพดินให้อุดมสมบูรณ์

4.5 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา 6 แนวทาง ดังนี้

5.1 เสริมสร้างการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นให้โปร่งใส สุจริต เพื่อสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยและวัฒนธรรมธรรมาภิบาล

5.2 พัฒนาภาวะผู้นำท้องถิ่นที่มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

5.3 พัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากร อปท.ทุกระดับอย่างต่อเนื่อง

5.4 พัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในด้านการบริหารจัดการ การเงิน การคลัง และงบประมาณของ อปท. ให้มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

5.5 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย เพื่อการบริหารงานและบริการ

5.6 เสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน